Hello Kitty Winking Pointer

วันอาทิตย์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2557

วิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
อาจารย์ผู้สอน ตฤณ  แจ่มถิ่น
วันจันทร์ ที่ 25 สิงหาคม 2557
ครั้งที่ 1 กลุ่มเรียน 103
เวลาเรียน 11.30 - 14.00 น.
กิจกรรมวันนี้
วันนี้อาจารย์อธิบายถึงเรื่อง  การใช้โปรแกรม My map   เด็กดาวซ์ซินโดรม   เด็กออทิสติก  โรคทางพันธุกรรม และความหมายของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
ความหมายของเด็กออทิสติก 
เด็กออทิสติก หรือบางครั้งเรียกว่า ออทิซึ่ม (Autism) หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่องอย่างรุนแรงในการสื่อความหมาย พฤติกรรม สังคม และความสามารถทางสติปัญญาในการรับรู้อาการต่าง ๆ จะมีการเปลี่ยนแปลงไม่แน่นอนเป็นระยะ ๆ ไป เด็กออทิสติกแต่ละคนจะมีเอกลักษณ์ของตนเอง และย่อมแตกต่างไปจากเด็กคนอื่น ๆ ซึ่งเป็นเด็กออทิสติกเหมือนกัน ทั้งนี้เป็นเพราะอาการที่เป็นมีความรุนแรงมากน้อยต่างกันไป ประกอบกับเด็กแต่ละคนมีบุคลิกภาพของตัวเองอยู่ด้วย อาการออทิสติกนั้นจะคงอยู่ติดตัวเด็กไปจนเป็นผู้ใหญ่จนตลอดทั้งชีวิต ไม่สามารถรักษาให้หายได้หากพิจารณาเปรียบเทียบด้านพัฒนาการของทักษะด้านต่างๆ ของเด็กออทิสติกใน4 ด้าน คือ ด้านทักษะการเคลื่อนไหว ด้านทักษะการรับรู้เกี่ยวกับรูปทรง ขนาดและพื้นที่ ด้านทักษะภาษาและการสื่อความหมาย และด้านทักษะทางสังคม จะพบว่าเด็กออทิสติกจะมีพัฒนาการด้านภาษา และพัฒนาการด้านสังคมต่ ามาก แต่จะมีพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวด้านการรับรู้รูปทรง ขนาดและพื้นที่โดยเฉลี่ยสูงถ้าความแตกต่างระหว่างทักษะด้านภาษา และสังคมยิ่งต่ ากว่า ทักษะด้านการเคลื่อนไหว และการรับรู้รูปทรงมากเท่าใดความเป็นไปได้ของออทิสติกก็ยิ่งสูงขึ้นเท่านั้น พัฒนาการที่ผิดปกตินี้ ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรงตลอดชีวิต

ความหมายของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
หมายถึงเด็กที่ไม่อาจพัฒนาความสามารถได้เท่าที่ควรจากการให้การช่วยเหลือ และการสอนตามปกติทั้งนี้มีสาเหตุจากสภาพความบกพร่องทางร่างกาย สติปัญญา และอารมณ์จึงจำเป็นต้องได้รับการกระตุ้น ช่วยเหลือการบำบัด ฟื้นฟูและให้การเรียนการสอนที่เหมาะกับลักษณะ และความต้องการของเด็ก
-ความหมายทางการแพทย์
ทางการแพทย์ มักจะเรียกเด็กที่มีความต้องการพิเศษเหล่านี้ว่าเด็กพิการ ดังนั้นเด็กที่มีความต้องการพิเศษจึงหมายถึง ผู้ที่มีความผิดปกติ ผู้ที่มีความบกพร่อง หรือผู้ที่มีการสูญเสียสมรรถภาพอาจเป็นความผิดปกติ ความบกพร่องทางกาย หรือการสูญเสียสมรรถภาพทางสติปัญญา ทางจิตใจ เนื้อเยื่อหรือระบบเส้นประสาทก็ได้ ซึ่งความผิดปกติ ความบกพร่องหรือการสูญเสียสมรรถภาพเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของเขาทำให้เขาไม่สามารถปฏิบัติภารกิจได้ดีเท่ากับคนปกติ แต่หากมีการแก้ไขอวัยวะที่บกพร่องไปให้สามารถใช้งานได้ดังเดิมแล้วสภาพความบกพร่องอาจหมดไป
-ความหมายทางการศึกษา
ให้ความหมายเด็กที่มีความต้องการพิเศษว่า หมายถึงเด็กที่มีความต้องการทางการศึกษาเฉพาะของตัวเองซึ่งจำเป็นต้องจัดการศึกษาให้ต่างไปจากเด็กปกติทางด้านเนื้อหาหลักสูตร กระบวนการที่ใช้และการประเมินผล
พัฒนาการของเด็กพิเศษ
การส่งเสริมพัฒนาการ เป็นปรัชญาที่ใช้ในการฝึก โดยเน้นการจัดกิจกรรมเพื่อใช้ในการส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการเป็นไปตามวัย โดยยึดหลักและลำดับขั้นพัฒนาการของเด็กปกติ ควรทำตั้งแต่อายุน้อย โดยต้องทำอย่างเข้มข้น สม่ำเสมอ และต่อเนื่องในระยะเวลาที่นานพอ การออกแบบการฝึกต้องให้เหมาะสมตามสภาพปัญหา ความสามารถ และความเร็วในการเรียนรู้ของเด็กแต่ละคนที่มีความแตกต่างกัน
เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
-เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา
-เด็กที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น
-เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
-เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายหรือสุขภาพ
-เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา
-เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
-เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้
-เด็กออทิสติก
-เด็กพิการซ้ำซ้อน
ปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็ก
พันธุกรรม  อิทธิพลของพันธุกรรมที่มีผลต่อพัฒนาการและการเตรียมความพร้อมของเด็กปฐมวัย มีดังนี้
-ลักษณะทางกายภาพ
-ระดับวุฒิภาวะ
-ความสามารถทางสมอง
-ลักษณะความผิดปกติ
-พื้นฐานทางอารมณ์
-ชนิดของกลุ่มเลือด
-เพศ
โรคทางพันธุกรรม
-โรคธารัสซีเมีย
-โรคซีสติกไฟรโบรซีส
-โรคคนเผือก
-โรคดักแด้
-โรคท้าวแสนปม
-โรคลูคีเมีย
-โรคเบาหวาน
-โรคดาวซินโดรม
-ตาบอดสี
-โรคฮีโมฟีเลีย

วันพุธที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่11

วิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  ตฤณ  แจ่มถิ่น
วันที่ 30 มกราคม 2557
ครั้งที่ 11 กลุ่มเรียน  103
เวลาเข้าเรียน 08.30 เลิกเรียน 12.20












วันอาทิตย์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่10

วิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  ตฤณ  แจ่มถิ่น
วันที่ 23 มกราคม 2557
ครั้งที่ 10 กลุ่มเรียน  103
เวลาเข้าเรียน 08.30 เลิกเรียน 12.20
กิจกรรมวันนี้
อาจารย์ให้เขียนแผนการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
โดยแบ่งกลุ่ม ๆ ละ 4 - 5 คน และ แบบเดี่ยว
วัตถุประสงค์
- ช่วยให้สามารถจัดกิจกรรมให้กับเด็กได้อย่างราบรื่น และเกิดผลตามที่กำหนดไว้
- เป็นการวางแผนการสอนเพื่อให้เด็กปฏิบัติและได้รับประสบการณ์ อันนำไปสู่การบรรลุวัตถุประสงค์การศึกษาทั้งด้านพุทธิพิสัย จิตพิสัย และทักษะพิสัย
การนำไปใช้
- สามารถนำวิธีการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยไปใช้ในการวางแผนการสอนวิชาคณิตสาตร์ได้
















นางสาว ชลธิชา  ป้องคำ

วันจันทร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่8

วิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  ตฤณ  แจ่มถิ่น
วันที่ 16 มกราคม 2557
ครั้งที่ 9 กลุ่มเรียน  103
เวลาเข้าเรียน 08.30 เลิกเรียน 12.20
กิจกรรมที่1
วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มทำกิจกรรมโดยให้ทำงานศิลปะโดยทำให้เป็นเหมือนหนอนทำจากรูปเลขาคณิตโดยทำจากการจำแนกดังนี้
-การจำแนกสี
-การจำแนกรูปเรขาคณิต
อุปกรณ์
-สี
-กรรไกร
-กาว
-กระดาษสี
-สีเทียน,สีไม้
-ไม้บรรทัด













ผลงานของกลุ่มดิฉัน  หนอนผลไม้














ผลงานของกลุ่มเพื่อนๆ















กิจกรรมที่ 2  การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
โดยอาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งออกเป็นสามกลุ่มโดยมีหัวข้อดังนี้
1.การเปรียบเทียบ
2.การจำแนก
3.รูปแบบแผนภูมิ
การนำเสนอหน้าชั้นเรียน
โดยการนำเสนอจะมีการนำเสนอแบบการสอนโดยการสอนจะสอนในลักษณะให้เด็กได้มีส่วนร่วมโดยการตอบคำถามร่วมกัน




















กิจกรรมที่ 3 ไหว้ครู

































ความรู้ที่ได้รับ
สามารถนำทักษะทางคณิตศาสตร์ไปใช้แก้ปัญหาและสามารถนำไปเชื่อมโยงกับวิชาอื่นๆได้  เช่นสามารถนำไปใช้ในวิชาศิลปะหรือกลางแจ้ง  และยังส่งเสริมพัฒนาการทั้ง4ด้านของเด็กโดยการมีส่วนในการทำกิจกรรมกับเพื่อนๆ

น.ส.ชลธิชา   ป้องคำ

วันเสาร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่8

วิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  ตฤณ  แจ่มถิ่น
วันที่ 9 มกราคม 2557
ครั้งที่ 8 กลุ่มเรียน  103
เวลาเข้าเรียน 08.30 เลิกเรียน 12.20
วันนี้อาจารย์ให้นักศึกช่วยกันแต่งนิทาน 1เรื่อง  มีชื่อว่า   สามเกลอเจอแก๊ส  
 กาลครั้งหนึ่งมีเพื่นสามสหายชื่อว่า  สามเหลี่ยม  สี่เหลี่ยม และวงกลม  มีบุคคลิกที่แตกต่างกัน  เจ้าสามเหลี่ยมมีอารมณ์ที่ขี้โมโห  เจ้าสี่เหลี่ยมเป็นใจกว้างและเจ้าวงเป็นคนเจ้าชู้  วันหนึ่งเจ้าคนนี้ได้ออกไปเที่ยวผับกัน  แต่พอเข้าไปแร้วเจ้าสามเหลี่ยมก็รู้สึกหงุดหงิดเพราะในผับเสียงดัง  เจ้าสี่เหลี่ยมก็อยู่เฉยๆ  เจ้าวงกลมก็มัวแต่จีบสาว   คนในผับกำลังเคาท์ดาวน์กันอยู่  อยู่ๆก็มีแกสน้ำตาถูกโยนเข้ามาในผับ   เจ้าสี่เหลี่ยมก็เลยเป่านกหวีดเพื่อบอกให้เพื่อนๆ อยู่ในความสงบ   เจ้าวงกลมตะโกนบอกเพื่อนให้เอาผ้าปิดจมูกเจ้าสามเหลี่ยมวิ่งไปจับคนที่ขว้างแกสน้ำตาแล้วทุกคนก็ทยอยกันออกไปจากผับ  และทุกคนก็แยกย้ายกันกลับบ้าน

และอาจารย์ก็ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มเท่าๆกันเพื่อที่แบ่งกันวาดภาพของนิทานเรื่องสามเกลอเจอแก๊ส
โดยการวาดภาพประกอบจะต้องมีส่วนกระดาษที่ตัดเป็นรูปเลขาคณิตเป็นส่วนกอบของภาพประกอบ
อุปกรณ์
-สี
-กระดาษที่ตัดเป็นรูปเลขาคณิต
-กระสี
-ไกรกรร
-กาว
-กระขาว













ภาพผลงานวันนี้













ความรู้สึกในวันนี้
สนุกสนานมากค่ะเป็นการทำกิจกรรมที่มีอิสระไม่จำกัดความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการของเด็กเปิดโลกกว้างให้เด็กได้ทำผลงานด้วยตนเองและอาจารย์ก็เป็นกันเองกับนักศึกษามากๆเลยและขนาดที่ทำกิจกรรมก็มีการเปิดเพลงให้ฟังอีกด้วย
ความรู้ทีี่ได้รับ
-สามารถทำหนังสือนิทานได้ด้วยตนโดยที่ไม่ต้องไปเสียตางซื้อแพงๆ
-ฝึกทักษะความคิดสร้างสรรค์ไปในตัว
-ช่วยให้เด็กได้ระบายความรู้สึกโดยผ่านออกมาจากงานศิลปะ


นางสาว ชลธิชา  ป้องคำ 5511203910

วันพฤหัสบดีที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่7

วิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  ตฤณ  แจ่มถิ่น
วันที่ 19 ธันวาคม  2556
ครั้งที่ 7 กลุ่มเรียน  103
เวลาเข้าเรียน 08.30 เลิกเรียน 12.20

หยุดเนื่องจากสอบกลางภาค




นางสาวชลธิชา  ป้องคำ  5511203910

วันอาทิตย์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 6

วิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  ตฤณ  แจ่มถิ่น
วันที่ 12 ธันวาคม  2556
ครั้งที่ 6 กลุ่มเรียน  103
เวลาเข้าเรียน 08.30 เลิกเรียน 12.20
ความรู้ที่ได้รับในวันนี้  เรื่องกรอบมาตราฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย
เด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์
ให้เด็กได้เตรียมความพร้อมด้านต่างๆ ทางคณิตศาสตร์ ที่เป็นพื้นฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในชั้นปฐมศึกษา
สาระและมาตราฐานการเรียนรู้
-สาระที่ 1 = จำนวนและการดำเนินการ
-สาระที่ 2 = การวัด
-สาระที่ 3 = เรขาคณิต
-สาระที่ 4 = พีชคณิต
-สาระที่ 5 = การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
-สาระที่ 6 = ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
คุณภาพของเด็กเมื่อจบการศึกษาปฐมวัย
1.มีความคิดในเชิงคณิตศาสตร์ เช่น
-นับ 1-20 ได้
-เข้าใจหลักการนับ
-รู้จักตัวเลขฮินดูอารบิกและตัวเลขไทย
-รู้ค่าของจำนวน
-เปรียบเทียบและเรียงลำดับได้
2.มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับความยาว  น้ำหนัก  ปริมาตร  เงิน  และเวลา
-เปรียบเทียบ   เรียงลำดับ  วัดความยาว  น้ำหนัก  ปริมาตร 
-รู้จักเงินเหรียญและธนบัตร
-เข้าใจเกี่ยวกับเวลา
3.มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานทางเรขาคณิต
-ตำแหน่ง  ทิศทาง  ระยะทาง
-รูปเรขาคณิตสามมิติและรูปเรขาคณิตสองมิติ
4.มีความรู้ความเข้าใจแบบรูปของรูปที่มีรูปร่าง  ขนาด  สีสัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่ง
5.มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลและนำเสนอข้อมูลในรูปแผนภูมิอย่างง่าย
6.มีทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่จำเป็น
สาระและมาตราฐานการเรียนรู้
สาระที่ 1 = จำนวนและการดำเนินการ
มาตราฐาน ค.ป. 1.1 เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง
จำนวน
-การใช้จำนวนบอก ปริมาณที่ได้จากการนับ
-การอ่านตัวเลขฮินดูอารบิก และตัวเลขไทย
-การเขียนตัวเลขฮินดูอารบิกแสดงจำนวน
-การเปรียบเทียบจำนวน
-การลำดับจำนวน
ตัวอย่างภาพ















การรวมและการแยกกลุ่ม
-สามารถบอกความหมายของการรวมได้
-บอกความหมายของการแยก
-การแยกกลุ่มย่อยออกจากกลุ่มใหญ่ที่มีจำนวนไม่เกิน10
สาระที่ 2 = การวัด
มาตราฐาน ค.ป.2.1  เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา
ความยาว น้ำหนัก ปริมาตร
-การเปรียบเทียบ  การชั่ง  การเรียงลำดับความยาว
-การเปรียบเทียบ  การชั่ง  การเรียงลำดับน้ำหนัก
-การเปรียบเทียบปริมาตร   การตวง
ตัวอย่างภาพ












เงิน
-สามารถบอกชนิดและค่าของเงิน เช่น เหรียญและธนบัตรได้
เวลา
-สามารถบอกช่วงเวลาในแต่ละวันได้
-สามารถบอกชื่อวันในสัปดาห์และคำที่ใช้บอกเกี่ยวกับวันได้
สาระที่ 3 = เรขาคณิต
-มาตราฐาน ค.ป.3.1 รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทาง
-มาตราฐาน ค.ป.3.2 รู้จักจำแนกรูปเรขาคณิตและเข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตที่เกิดจากการจัดกระทำ
ตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทาง
-สามารถบอกตำแหน่ง ทิศทาง ระนะทางของสิ่งต่างๆได้
รูปเรขาคณิตสามมิติและรูปเรขาคณิตสองมิติ
-ทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก กรวย ทรงกระบอก
-รูปวงกลม รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม
-การเปลี่ยแปลง รูปเรขาคณิตสองมิติ
-การสร้างสรรคืงาน ศิลปะจากรูปเรขาคณิตสามมิติและสองมิติ
ตัวอย่างภาพ
ก็คือเด็กสามารถนำรูปทรงต่างๆนำมาสร้างสรรค์ผลงานศิลปะให้เป็นรูปต่างๆได้ เช่น รุปบ้าน  หรือรูปสัตว์เป็นต้น





















สาระที่ 4 = พีชคณิต
มาตราฐาน ค.ป.4.1 เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์
แบบรูปและความสัมพันธ์
-แบบรูปของรูปที่มี รูปร่าง ขนาด หรือสี ที่สัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง
ตัวอย่างภาพ













สาระที่ 5 = การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
มาตราฐาน ค.ป.5.1 รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อมและนำเสนอ
การเก็บรวบรวมข้อมูลและนำเสนอ
-การนำเสนอข้อมูลในรูปแบบแผนภูมิได้อย่างง่าย
กิจกรรมวันนี้
อาจารย์ให้ให้ทำสื่อโดยการนำเอารูปเรขาคณิตมาทำเป็นรูปสัตว์ชนิดใดก็ได้
อุปกรณ์
-กระดาษสี
-กรรไกร
-กาว
-สี
ผลงานวันนี้
รูปเต่า
วัตถุประสงค์
-เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้เรื่องเรขาคณิต
-เพื่อส่งเสริมทักษะด้านความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการของเด็ก
-เพื่อสร้างความสนใจให้แก่เด็กเพราะเด็กได้ลงมือปฎิบัติด้วยตนเอง
การนำไปใช้
-สามารถนำไปเล่านิทานหรือร้องเพลงก็ได้
-สามารถนำไปเป็นสื่อการสอนในวิชาคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย














นางสาว ชลธิชา  ป้องคำ 5511203910