Hello Kitty Winking Pointer

วันอาทิตย์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2557

วิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
อาจารย์ผู้สอน ตฤณ  แจ่มถิ่น
วันจันทร์ ที่ 25 สิงหาคม 2557
ครั้งที่ 1 กลุ่มเรียน 103
เวลาเรียน 11.30 - 14.00 น.
กิจกรรมวันนี้
วันนี้อาจารย์อธิบายถึงเรื่อง  การใช้โปรแกรม My map   เด็กดาวซ์ซินโดรม   เด็กออทิสติก  โรคทางพันธุกรรม และความหมายของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
ความหมายของเด็กออทิสติก 
เด็กออทิสติก หรือบางครั้งเรียกว่า ออทิซึ่ม (Autism) หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่องอย่างรุนแรงในการสื่อความหมาย พฤติกรรม สังคม และความสามารถทางสติปัญญาในการรับรู้อาการต่าง ๆ จะมีการเปลี่ยนแปลงไม่แน่นอนเป็นระยะ ๆ ไป เด็กออทิสติกแต่ละคนจะมีเอกลักษณ์ของตนเอง และย่อมแตกต่างไปจากเด็กคนอื่น ๆ ซึ่งเป็นเด็กออทิสติกเหมือนกัน ทั้งนี้เป็นเพราะอาการที่เป็นมีความรุนแรงมากน้อยต่างกันไป ประกอบกับเด็กแต่ละคนมีบุคลิกภาพของตัวเองอยู่ด้วย อาการออทิสติกนั้นจะคงอยู่ติดตัวเด็กไปจนเป็นผู้ใหญ่จนตลอดทั้งชีวิต ไม่สามารถรักษาให้หายได้หากพิจารณาเปรียบเทียบด้านพัฒนาการของทักษะด้านต่างๆ ของเด็กออทิสติกใน4 ด้าน คือ ด้านทักษะการเคลื่อนไหว ด้านทักษะการรับรู้เกี่ยวกับรูปทรง ขนาดและพื้นที่ ด้านทักษะภาษาและการสื่อความหมาย และด้านทักษะทางสังคม จะพบว่าเด็กออทิสติกจะมีพัฒนาการด้านภาษา และพัฒนาการด้านสังคมต่ ามาก แต่จะมีพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวด้านการรับรู้รูปทรง ขนาดและพื้นที่โดยเฉลี่ยสูงถ้าความแตกต่างระหว่างทักษะด้านภาษา และสังคมยิ่งต่ ากว่า ทักษะด้านการเคลื่อนไหว และการรับรู้รูปทรงมากเท่าใดความเป็นไปได้ของออทิสติกก็ยิ่งสูงขึ้นเท่านั้น พัฒนาการที่ผิดปกตินี้ ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรงตลอดชีวิต

ความหมายของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
หมายถึงเด็กที่ไม่อาจพัฒนาความสามารถได้เท่าที่ควรจากการให้การช่วยเหลือ และการสอนตามปกติทั้งนี้มีสาเหตุจากสภาพความบกพร่องทางร่างกาย สติปัญญา และอารมณ์จึงจำเป็นต้องได้รับการกระตุ้น ช่วยเหลือการบำบัด ฟื้นฟูและให้การเรียนการสอนที่เหมาะกับลักษณะ และความต้องการของเด็ก
-ความหมายทางการแพทย์
ทางการแพทย์ มักจะเรียกเด็กที่มีความต้องการพิเศษเหล่านี้ว่าเด็กพิการ ดังนั้นเด็กที่มีความต้องการพิเศษจึงหมายถึง ผู้ที่มีความผิดปกติ ผู้ที่มีความบกพร่อง หรือผู้ที่มีการสูญเสียสมรรถภาพอาจเป็นความผิดปกติ ความบกพร่องทางกาย หรือการสูญเสียสมรรถภาพทางสติปัญญา ทางจิตใจ เนื้อเยื่อหรือระบบเส้นประสาทก็ได้ ซึ่งความผิดปกติ ความบกพร่องหรือการสูญเสียสมรรถภาพเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของเขาทำให้เขาไม่สามารถปฏิบัติภารกิจได้ดีเท่ากับคนปกติ แต่หากมีการแก้ไขอวัยวะที่บกพร่องไปให้สามารถใช้งานได้ดังเดิมแล้วสภาพความบกพร่องอาจหมดไป
-ความหมายทางการศึกษา
ให้ความหมายเด็กที่มีความต้องการพิเศษว่า หมายถึงเด็กที่มีความต้องการทางการศึกษาเฉพาะของตัวเองซึ่งจำเป็นต้องจัดการศึกษาให้ต่างไปจากเด็กปกติทางด้านเนื้อหาหลักสูตร กระบวนการที่ใช้และการประเมินผล
พัฒนาการของเด็กพิเศษ
การส่งเสริมพัฒนาการ เป็นปรัชญาที่ใช้ในการฝึก โดยเน้นการจัดกิจกรรมเพื่อใช้ในการส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการเป็นไปตามวัย โดยยึดหลักและลำดับขั้นพัฒนาการของเด็กปกติ ควรทำตั้งแต่อายุน้อย โดยต้องทำอย่างเข้มข้น สม่ำเสมอ และต่อเนื่องในระยะเวลาที่นานพอ การออกแบบการฝึกต้องให้เหมาะสมตามสภาพปัญหา ความสามารถ และความเร็วในการเรียนรู้ของเด็กแต่ละคนที่มีความแตกต่างกัน
เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
-เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา
-เด็กที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น
-เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
-เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายหรือสุขภาพ
-เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา
-เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
-เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้
-เด็กออทิสติก
-เด็กพิการซ้ำซ้อน
ปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็ก
พันธุกรรม  อิทธิพลของพันธุกรรมที่มีผลต่อพัฒนาการและการเตรียมความพร้อมของเด็กปฐมวัย มีดังนี้
-ลักษณะทางกายภาพ
-ระดับวุฒิภาวะ
-ความสามารถทางสมอง
-ลักษณะความผิดปกติ
-พื้นฐานทางอารมณ์
-ชนิดของกลุ่มเลือด
-เพศ
โรคทางพันธุกรรม
-โรคธารัสซีเมีย
-โรคซีสติกไฟรโบรซีส
-โรคคนเผือก
-โรคดักแด้
-โรคท้าวแสนปม
-โรคลูคีเมีย
-โรคเบาหวาน
-โรคดาวซินโดรม
-ตาบอดสี
-โรคฮีโมฟีเลีย